วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ภาพความประทับใจ

 ที่นี้ก็จะเป็นพระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยาคะ ซึ่งมีความสวยงามและได้ระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทยของเราด้วย ทำให้ทราบว่ากว่าจะมาเป็นประเทศไทยได้อย่างทุกวันนี้ บรรพบุรุษของเราได้เสียสละเนื้อเลือดไปเท่าไร








วิวที่ภูเรือ สวยมาก  ซึ่งมีคนไปดูเป็นจำนวนมาก คนที่ไปก็จะไปรอชมพระอาทิตย์ขึ้นกัน ซึ่งที่นั้นจะมีอากาศหนาว












รูปนี่ก็จะเป็นแก่งคุดคู้จังหวัดเลยคะ จะเป็นแก่งหอนใหญ่ขวางอยู่กลางแม่น้ำโขง ในหน้าน้ำน้ำจะท่วมจนมองไม่เห็นแก่งเลยคะ










 รูปนี้ไปดูงานที่ไร่องุ่น องุ่นน่ากินมาก แต่กินไม่ได้เพราะเขาฉีดยาป้อง กันแมลง ที่ไร่องุ่นเราก็จะได้ความรู้ในขั้นตอนการผลิตไวน์ว่าแต่ละขั้นตอนมีวิธีการทำอย่างไรบางคะ











รูปนี้เป็นไร่กะหล่ำปลีที่ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่นี้ก็จะปลูกกะหล่ำกันมากมีไร่กะหล่ำปลีสุดลูกหูลูกตา และมีอากาศที่หนาวเย็นตลอดทั้งปีและเป็นจุดที่สูงที่สุดของเพชรบูรณ์









รูปนี้ก็คือเขาค้อคะ แต่ตอนที่ไปหมอกมันบางก็เลยไม่เห็นว่าเป็นทะเลหมอก ที่เขาค้อก็จะมีคนไปกลางเต็นท์พักกันมากเหมือนกัน เพราะว่าอากาศหนาวและบรรยากาศดี







ประวัติพระนครศรีอยุธยา




      จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนาน พงศาวดารไปจนถึงศิลาจารึก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัยที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ.1893 นั้น ได้มีบ้านเมืองตั้งอยู่ก่อนแล้ว มีชื่อเรียกว่า เมืองอโยธยา หรือ อโยธยาศรีราม เทพนคร หรือเมืองพระราม มีทึ่ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของเกาะ เมืองอยุธยา มีบ้านเมืองที่ ความเจริญทางการเมือง การปกครอง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่ง มีการใช้กฎหมายใน
     การปกครองบ้านเมือง 3 ฉบับ คือ พระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการลักษณะกู้หนี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ประสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ.2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ.2127 และเสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบ กู้เอกราชได้ใน ปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจาก กรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลาย เป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่ากลับ เข้ามาอาศัยอยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"พระบาท  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรด ให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ.2438 ทรงโปรดให้จัด ตั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็น หัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรด ให้จัดการปฏิรูปการปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง
      โดยในปี พ.ศ.2438 ทรงโปรดให้จัด ตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ.2469 เปลี่ยนชื่อจากมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 อยุธยาจึงเปลี่ยน ฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน
      ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภาย ในเมืองอยุธยา เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ.2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทางมาเยือนประเทศไทยและได้มอบเงิน จำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานใน อยุธยาอย่าง จริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินการ จนองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนนคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก" เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 มีพื้นที่ ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปี มีประวัติในการปกครอง การกอบกู้อิสรภาพ วีรกรรมและด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมากมายเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ดังคำกล่าวว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังมากไปด้วย วัดวาอารามประสาทราชวังและปูชนียสถานวัตถุมากมาย และมีพระมหากษัตริย์ปกครอง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสืบต่อกันมาถึง 33 พระองค์ มีพระราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันครองอาณาจักร กรุงศรีอยุธยา รวม 5 ราชวงศ์

ประวัติของภูเรือ จ.เลย



      ประวัติความเป็นมาจากประวัติกล่าวว่า คำว่า ภูเรือ ตั้งชื่อตามภูเขาชื่อเดิมเรียกว่า ภูทุ่ง หากมองจากอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย จะมีลักษณะเหมือนเรือแล่นอยู่ในมหาสมุทร จึงเรียกว่า ภูเรือแต่อีกนัยหนึ่งเล่ากันว่า สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเครื่องบิน มาตกที่บริเวณภูทุ่งจึงได้เรียกกันว่า ภูเรือ ก่อนที่จะเป็นอำเภอภูเรือ เดิมเป็นพื้นที่เขตการปกครองของสามอำเภอ คือ อำเภอเมืองเลย อำเภอด่านซ้าย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เมื่อ พ.ศ. 2511 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า เขตการปกครองของอำเภอเมืองเลย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีพื้นที่กว้างขวางมากซึ่งเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปกครอง ดูแลทุกข์สุขของราษฎรได้ทั่วถึงจึงได้แยกตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเลย ตำบลหนองบัว ตำบลร่องจิก ตำบลปลาบ่า อำเภอด่านซ้ายรวม 4 ตำบล เข้าเป็นเขตการปกครองเดียวกัน โดยประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอภูเรือ ขึ้นกับเขตการปกครองของอำเภอด่านซ้าย เมื่อ พ.ศ. 2511 และได้ประกาศยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 28 มีนาคม 2517ปัจจุบันอำเภอภูเรือ แบ่งเขตการปกครองท้องที่เป็น 6 ตำบล 47 หมู่บ้าน คำขวัญประจำอำเภอ เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ต้นไม้ประจำอำเภอคือ ต้นสนสินค้าประจำอำเภอได้แก่ ข้าวโพดตักหงาย, ขิง, กระชายดำแปรรูป, น้ำเฟรชชั่นฟรุต(กระทกรก), ไวน์มะขามป้อม, ไวน์กระชายดำ, ไวน์ชาโต้เดอเลย และขนมนางเล็ดสินค้าประจำตำบล (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์)1. ตำบลหนองบัว คือ น้ำเฟรชชั่นฟรุต ( กระทกรก ) ไวน์มะขามป้อม2. ตำบลสานตม คือ ไวน์กระชายดำ3. ตำบลร่องจิก คือ ไวน์ชาโต้เดอะเลย4. ตำบลปลาบ่า คือ ขนมนางเล็ด5. ตำบลลาดค่าง คือ กระชายดำแปรรูป6. ตำบลท่าศาลา คือ ขนมนางเล็ดระยะทางจากอำเภอไปจังหวัดเลยระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203

ประวัติของเขาค้อ

   เขาค้อทะเลหมอก
ทะเลหมอกบนเขาค้อ

เขาค้อ เป็นชื่อเรียกรวมทิวเขาน้อยใหญ่ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในเขตอำเภอเขาค้อ เหตุที่เรียกกันว่า เขาค้อ เป็นเพราะป่าบริเวณนี้มีต้นค้อขึ้นอยู่มาก เนื่องจากภูมิอากาศบนเขาค้อเย็นตลอดปี ค่อนข้างเย็นจัดในฤดูหนาวและมีทัศนียภาพสวยงาม จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเพชรบูรณ์
เขาค้อประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย ยอดเขาค้อ มีความสูงประมาณ 1,174 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล เขาย่าสูง 1,290 เมตรและเขาใหญ่ สูง 865 เมตร นอกจากนั้นยังมีเขาตะเคียนโง๊ะ เขาหินตั้งบาตร เขาห้วยทราย และเขาอุ้มแพ ลักษณะป่าไม้ในแถบนี้เป็นป่าเต็งรังหรือป่าไม้สลัดใบ ป่าสน และป่าดิบ ที่น่าสนใจก็คือ พันธุ์ไม้ตระกูลปาล์ม ลักษณะคล้ายต้นตาล แต่ออกผลเป็นทะลายคล้ายหมาก แม้ปัจจุบันป่าจะถูกถางไปมากก็ตาม แต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง
สถานที่ท่องเที่ยงบนเขาค้อ นอกจากสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว เขาค้อยังมีความสวยงามให้ชื่นชมได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะการขึ้นไปชมทะเลหมอกในฤดูหนาว ซึ่งมีที่พักหลายแห่งสามารถเห็นทะเลหมอกที่สวยงามได้ในตอนเช้า ส่วนในฤดูร้อนก็ยังมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชม เนื่องจากมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำ ทำให้มีอากาศเย็นตลอดทั้งปี

ทะเลหมอกบนเขาค้อ บริเวณที่เกิดทะเลหมอกบนเขาค้อ คือบริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำรัตนัย ซึ่งอยู่ด้านล่างของถนนเส้นทางหลักสาย 2196 บริเวณใกล้ๆ กับที่ทำการอ.เขาค้อ สามารถชมทะเลหมอกได้เป็นระยะทางค่อนข้างยาวไกล ในช่วงเช้า ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ถึงเวลาประมาณ 8 โมงเช้า จุดที่นิยมไปชมกันมากที่สุด คือบริเวณศาลาชมวิวเขาค้อ, จุดบริเวณที่ตั้งของรีสอร์ทเขาค้อทะเลหมอก, พรสวรรค์รีสอร์ท,เขาค้อสวิสรุ่งอรุณรีสอร์ท, ภูอาบหมอกบ้านทะเลหมอก และบริเวณใกล้เคียง  เช่น ชุมสายโทรศัพท์เขาค้อ และสถานที่ราชการ ที่อยู่ติดๆกัน เช่นสถานีตำรวจภูธร อ.เขาค้อ และโรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ 

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทัศนศึกษา....ภาคอีสาน

   
    
      การไปทัศนศึกษาดูงานที่ภาคอีสาน ซึ่งดิฉันได้ไปหลายที่และใน แต่ละที่ก็จะมีสถานที่ที่สวยงามซึ่งมีประวัติที่น่าจดจำและน่าสนใจอยู่หลายแห่งด้วยกันและสถานที่ที่ดิฉันประทับใจ ก็มีอยู่หลายแห่งเช่นกัน คือ เขาค้อ ,ภูเรือ ,และพระนครศรีอยุธยา